ความรู้เกี่ยวกับสายตา

ส่วนประกอบของดวงตา

กระจกตา (Cornea) เป็นโครงสร้างหน้าสุดของลูกตา มีลักษณะใส โปร่งแสง และโค้ง ทำหน้าที่ให้แสงผ่านเข้ามาในลูกตา มีกำลังหักเหแสง ช่วยในการปรับภาพให้มาโฟกัสที่จอประสาทตา

รูม่านตา (Pupil) เป็นรูที่อยู่ตรงกลางม่านตา จะขยับขนาดโดยอัตโนมัติตามสภาวะของแสง ในที่แสงสว่างมาก เช่น ในตอนกลางวัน ม่านตาจะหดเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้าตาน้อย และในที่สลัวเวลากลางคืน ม่านตาจะขยายเพื่อรับแสงให้แสงผ่านเข้าตามาก ช่วยในการมองเห็นเวลากลางคืน

ม่านตา (Iris) เป็นส่วนที่อยู่หลังกระจกตาค่อนไปตรงกลางลูกตา มีหน้าที่ควบคุมแสงผ่านเข้าและออกจากลูกตา ผ่านทางรูม่านตาที่อยู่ตรงกลาง ม่านตาเป็นส่วนที่ทำให้ลูกตามีสีต่าง ๆ เช่น ชาวเอเชียมีม่านตาสีน้ำตาล และชาวยุโรปบางคนมีม่านตาสีฟ้า

เลนส์แก้วตา (Lens) อยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่ปรับให้แสงมาโฟกัสที่จอประสาทตา

จอประสาทตา (Retina) เป็นโครงสร้างด้านหลังของลูกตา ประกอบด้วย ชั้นของเส้นประสาท และเซลล์รับภาพที่ไวต่อแสง สร้างสัญญาณประสาทเกี่ยวกับการมองเห็นภาพ ส่งต่อไปยังเส้นประสาทตา และผ่านไปยังสมอง

เส้นประสาทตา (Optic Nerve) เป็นเส้นประสาทที่รวมสัญญาณจากเซลล์รับภาพที่จอประสาทตาส่งไปยังสมอง

ดวงตา
ยาว

สายตาสั้น (Myopia) เกิดจากความโค้งของกระจกตามากเกินไป หรือขนาดของลูกตายาวเกินไป ทำให้แสงโฟกัสก่อนถึงจอประสาทตา จึงมองเห็นชัดเจนในที่ใกล้มากกว่าที่ไกล

สั้น

สายตายาว (Hyperopia) เกิดจากความโค้งของกระจกตาน้อยเกินไป หรือขนาดของลูกตาเล็กเกินไป ทำให้แสงโฟกัสหลังถึงจอประสาทตา จึงมองเห็นไม่ชัดทั้งที่ใกล้และที่ไกล

สายตาเอียง

สายตาเอียง (Astigmatism) เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ทำให้แสงโฟกัสไม่เป็นจุดเดียวกัน จึงมองเห็นเป็นภาพซ้อน อาจเกิดร่วมกับสายตาสั้นหรือสายตายาวก็ได้

สายตายาวสูงอายุ

สายตายาวสูงอายุ (Presbyopia) ด้วยอายุที่มากขึ้น โดยเฉลี่ย 40 ปีขึ้นไป เลนส์แก้วตาจะเสียความสามารถในการยืดหยุ่น ทำให้ไม่สามารถเพ่งมองในระยะใกล้มากได้ชัดเจน เช่น อ่านหนังสือ